วันอังคารที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ส่งงานแก้ 0 , ร. , มส. ม.2

นักเรียนที่ติด 0 , ร , มส.
 นักเรียนชั้น ม.2/5-2/9 
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2553
ให้นักเรียนส่งงานดังนี้น่ะครับ

งานชิ้นที่  1
-  สมุด (วาดรูป , จดบันทึก , ศัพท์คอมพิวเตอร์ จำนวน 30 คะแนน)

งานชิ้นที่  2

-  ให้นักเรียนส่งบล็อก เป็นรายบุคคล โดยทำเนื้อหาที่สนใจในเชิงการศึกษา
   หรือสร้างสรรค์
   โดยมีองค์ประกอบของงานคือ
   1.  ชื่อผู้ส่งงาน ทำเป็นประวัติส่วนตัว
   2.  เนื้อหาที่สนใจ จำนวน  3  บทความ
   3.  ใส่รูปภาพ จัดเนื้อหาให้เหมาะสม พร้อมอ้างอิงเนื้อหา
   (จำนวน 30 คะแนน)

การส่งงานให้นักเรียนโพสแสดงความคิดเห็นได้ที่บทความนี้โดย
บอกชื่อ URL ของเว็บบล็อกของนักเรียนให้ถูกต้อง  หากไม่สามารถ
เข้าได้ถือว่านักเรียน ไม่ส่งงาน

กำหนดสามารถส่งงานได้ตลอดภาคเรียน
แต่นักเรียนต้องมาติดต่อแก้ ร. เพื่อทราบแนวทาง
ในการส่งงานก่อนน่ะครับ

สงสัยอะไรให้ถามครูได้ที่ห้อง Resource Center (427)


วันอาทิตย์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

การแบ่งขนาดของคอมพิวเตอร์

ขนาดของเครื่องคอมพิวเตอร์  
                        
มักจะวัดกันตามขนาดความจุของหน่วยความ จำหลักที่ใช้งาน (Main Memory)
ซึ่งหน่วยวัดความจุอาจอยู่ในเทอมของกิโลไบต์ (Kilobyte หรือ KB) โดย 1 KB จะมีค่า =  ไบต์  หรือ 1024 ตัวอักขระ (1 ไบต์ มีค่าเท่ากับ 1 ตัวอักขระ) ดังนั้น ถ้าคอมพิวเตอร์มีความจุ 10 K จะมีความหมายว่าเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นจะสามารถเก็บข้อมูลไว้ในหน่วย ความจำหลักได้ ไบต์ หรือเท่ากับ 10,240 ตัวอักขระ
          นอกจากนี้ขนาดหน่วยความจำยังอาจมีหน่วยวัดอยู่ในเทอมของเมกะไบต์ (Megabyte หรือ MB หรือ M ) โดย 1 MB = 1024 KB = 1024 X 1024 =1,048,576 ไบต์ (ตัวอักขระ)
          หรืออาจอยู่ในเทอมของจิกะไบต์ (Gigabyte หรือ GB) โดย 1 = 1024 MB = 1024  X 1024 X 1024 =
1,073,741,824 ไบต์(ตัวอักขระ) เป็นต้น   

                     3.1  ไมโครคอมพิวเตอร์
     เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็ก บางคนเห็นว่าเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานส่วนบุคคล หรือเรียกว่า พีซี (Personal Computer : PC) สามารถใช้เป็นเครื่องต่อเชื่อมในเครือข่าย หรือใช้เป็นเครื่องปลายทาง (terminal) ซึ่งอาจจะทำหน้าที่เป็นเพียงอุปกรณ์รับและแสดงผลสำหรับป้อนข้อมูลและดู ผลลัพธ์ โดยดำเนินการการประมวลผลบนเครื่องอื่นในเครือข่ายอาจจะกล่าวได้ว่าไมโคร คอมพิวเตอร์ คือเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีหน่วยประมวลผลกลางเป็นไมโครโพรเซสเซอร์ ใช้งานง่าย ทำงานในลักษณะส่วนบุคคลได้ สามารถแบ่งแยกไมโครคอมพิวเตอร์ตามขนาดของเครื่องได้ดังนี้  
  3.1.1  คอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ (Desktop Computer)   เป็นไมโครคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กถูกออกแบบมาให้ตั้งบนโต๊ะ  มีการแยกชิ้นส่วน  ประกอบเป็นซีพียู  จอภาพ  และแผงแป้นอักขระ
3.1.2 แล็ปท็อปคอมพิวเตอร์ (Laptop Computer) เป็น ไมโครคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่วางใช้งานบนตักได้  จอภาพที่ใช้เป็นแบบราบชนิดจอภาพผนึกเหลว (Liquid Crystal Display :LCD) น้ำหนักของ
เครื่องประมาณ 3-8 กิโลกรัม


3.1.3 โน้ตบุ๊คคอมพิวเตอร์  (notebook Computer)     เป็นไมโครคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดและเบากว่าแล็ปท็อป  นำหนักประมาณ 1.5-3 กิโลกรัม จอภาพแสดงผลเป็นแบบราบชนิดมีทั้งแสดงผลสีเดียว  หรือแบบหลายสี  โน้ตบุ๊คที่มีขายทั่วไปมีประสิทธิภาพและความสามารถเหมือนกับแล็ปท็อป

3.1.4 ปาล์มท็อปคอมพิวเตอร์ (Palmtop Computer) เป็นไมโครคอมพิวเตอร์สำหรับทำงานเฉพาะ อย่าง
เช่น เป็นพจนานุกรม  เป็นสมุดจดบันทึกประจำวัน  บันทึกการนัดหมายและการเก็บข้อมูลเฉพาะ บางอย่างที่สามารถพกพาติดตัวไปมาได้สะดวก


           

                     3.2 มินิคอมพิวเตอร์    เป็นเครื่องที่สามารถใช้งานพร้อม ๆ กันได้หลายคน จึงมีเครื่องปลายทางต่อได้ มินิคอมพิวเตอร์เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีราคาสูงกว่าสถานีงานวิศวกรรม นำมาใช้สำหรับประมวลผลในงานสารสนเทศขององค์การขนาดกลาง จนถึงองค์การขนาดใหญ่ที่มีการวางระบบเป็นเครือข่ายเพื่อใช้งานร่วมกัน เช่น งานบัญชีและการเงิน งานออกแบบทางวิศวกรรม งานควบคุมการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม มินิคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขององค์การ ที่เรียกว่าเครื่องให้บริการ (server) มีหน้าที่ให้บริการกับผู้ใช้บริการ (client) เช่น ให้บริการแฟ้มข้อมูล ให้บริการข้อมูล ให้บริการช่วยในการคำนวณ และการสื่อสาร
                3.3 เมนเฟรมคอมพิวเตอร์   เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่มีการพัฒนามาตั้งแต่เริ่มแรก เหตุที่เรียกว่า เมนเฟรมคอมพิวเตอร์เพราะตัวเครื่องประกอบด้วยตู้ขนาดใหญ่ที่ภายในตู้มีชิ้น ส่วนและอุปกรณ์ต่าง ๆ อยู่เป็นจำนวนมาก แต่อย่างไรก็ตามในปัจจุบันเมนเฟรมคอมพิวเตอร์มีขนาดลดลงมากเมนเฟรมเป็น เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีราคาสูงมาก มักอยู่ที่ศูนย์คอมพิวเตอร์หลักขององค์การ และต้องอยู่ในห้องที่มีการควบคุมอุณหภูมิและมีการดูแลรักษาเป็นอย่างดี   บริษัทผู้ผลิตเมนเฟรมได้พัฒนาขีดความสามารถของเครื่องให้สูงขึ้น ข้อเด่นของการใช้เมนเฟรมอยู่ที่งานที่ต้องการให้มีระบบศูนย์กลาง และกระจายการใช้งานไปเป็นจำนวนมาก เช่น ระบบเอทีเอ็มซึ่งเชื่อมต่อกับฐานข้อมูลที่จัดการโดยเครื่องเมนเฟรม อย่างไรก็ตามขนาดของเมนเฟรมและมินิคอมพิวเตอร์ก็ยากที่จะจำแนกจากกันให้เห็น ชัด ปัจจุบันเมนเฟรมได้รับความนิยมน้อยลงทั้งนี้เพราะคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กมี ประสิทธิภาพและความสามารถดีขึ้นราคาถูกลงขณะเดียวกันระบบเครือข่าย คอมพิวเตอร์ก็ดีขึ้นจนทำให้การใช้งานบนเครือข่ายกระทำได้เหมือนการใช้งานบน เมนเฟรม



                3.4 ซูเปอร์คอมพิวเตอร์   เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เหมาะกับงานคำนวณที่ต้องมีการคำนวณตัวเลขจำนวน หลายล้านตัวภายในเวลาอันรวดเร็ว เช่น งานพยากรณ์อากาศ ที่ต้องนำข้อมูล
ต่าง ๆ เกี่ยวกับอากาศทั้งระดับภาคพื้นดิน และระดับชั้นบรรยากาศเพื่อดูการเคลื่อนไหวและการเปลี่ยนแปลงของอากาศ งานนี้จำเป็นต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีสมรรถนะสูงมาก นอกจากนี้มีงานอีกเป็นจำนวนมากที่ต้องใช้ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ซึ่งมีความเร็ว สูง เช่น งานควบคุมขีปนาวุธ งานควบคุมทางอวกาศ งานประมวลผลภาพทางการแพทย์ งานด้านวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะทางด้านเคมี เภสัชวิทยา และงานด้านวิศวกรรมการออกแบบ ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ทำงานได้เร็ว และมีประสิทธิภาพสูงกว่าคอมพิวเตอร์ชนิดอื่น การที่ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ทำงานได้เร็ว เพราะมีการพัฒนาให้มีโครงสร้างการคำนวณพิเศษ เช่นการคำนวณแบบขนานที่เรียกว่า เอ็มพีพี (Massively Parallel Processing : MPP) ซึ่งเป็นการคำนวณที่กระทำกับข้อมูลหลาย ๆ ตัวในเวลาเดียวกัน



อ้างอิงเนื้อหา  http://www.streesmutprakan.ac.th/teacher/techno/WEB%20_JAN/p4.html

ยุคของคอมพิวเตอร์

คอมพิวเตอร์ยุคที่ 1

หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์


การทำงานของคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยหน่วยสำคัญ 5 หน่วย คือ
  • หน่วยรับข้อมูล (Input Unit)
  • หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit : CPU)
  • หน่วยความจำหลัก (Main Memory)
  • หน่วยความจำสำรอง (Secondary Memory)
  • หน่วยแสดงผล (Output Unit)
          กลไกการทำงานของคอมพิวเตอร์ที่เกิดจากองค์ประกอบต่างๆ  เริ่มด้วยเมื่อมีการกดปุ่มเครื่องคอมพิวเตอร์  โปรแกรมหรือชุึดคำสั่งที่อยู่ในหน่วยความจำหลัก  จะทำการตรวจสอบอุปกรณ์ต่างๆ ให้พร้อมที่จะทำงาน  เมื่อตรวจสอบเสร็จคอมพิวเตอร์จะแสดงให้เห็นว่าพร้อมที่จะทำงาน  ก็จะมีการป้อนคำสั่งหรือโปรแกรมหรือข้อมูลโดยผ่านหน่วยรับข้อมูล  แล้วนำไปเก็บไว้ที่หน่วยความจำหลัก  ต่อจากนั้น หน่วยประมวลผลกลางก็จะทำการตามคำสั่งของโปรแกรมซึ่งเรียกว่า  การประมวลผล  แล้วนำผลลัพธ์ที่ได้เก็บไว้ที่ หน่วยความจำ  และจะแสดงผลลัพธ์ผ่านหน่วยแสดงผลเมื่อมีคำสั่งให้แสดงผลลัพธ์

หน่วยรับข้อมูล คือ
          เครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับข้อมูลรับข้อมูลหรือคำสั่ง จากผู้ใช้เข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ โดยแปลงข้อมูลหรือคำสั่งนั้นให้อยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อทำการประมวลผลต่อไป
อุปกรณ์รับข้อมูล ได้แก่
             Mouse                                            Keyboard                          Joy Sticks                                      Track Ball

              Touch Screen   Scanner

                  Digital Camera        Light Pen
 
              POS (Point of Sale Terminal)                                 
                        
OMR (Optical Mark Reader)

                                             น่วยประมวลผลกลาง คือ
          ส่วนที่ทำหน้าที่ปฏิบัติตามคำสั่งที่รับมาจากหน่วยรับข้อมูล และควบคุมการปฏิบัติงานของเครื่องคอมพิวเตอร์

หน่วยประมวลผลกลางประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วน คือ
  • หน่วยควบคุม (Control Unit) ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ในระบบทั้งหมด ให้ทำงานอย่างถูกต้อง
  • หน่วยคำนวณ (Arithmetic Logic Unit) ทำ หน้าที่ประมวลผลข้อมูลทางคณิตศาสตร์และทางตรรกะ เช่น
           การคำนวณทางคณิตศาสตร์  ได้แก่  การบวก ลบ คูณ หาร
         -   การกระทำทางตรรกะ (AND , OR)

         - 
  การเปรียบเทียบ  เช่น การเปรียบเทียบค่าของข้อมูล 2 ตัวว่ามีค่าเท่ากัน  มากกว่า  หรือน้อยกว่า  ไม่ว่าข้อมูลจะเป็นตัวเลข หรือตัวอักษรก้สามารถเปรียบเทียบได้
         - 
  การเลื่อนข้อมูล (Shift)
         -   การเพิ่มและการลด (Increment and Decrement)
         -   การตรวจสอบบิท (Test  Bit) 


 

          หน่วยความจำหลัก  เป็นหน่วยความจำที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์  แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
          1. รอม (ROM : Read Only Memory)  เป็นหน่วยความจำหลักที่
                    -  ใช้บรรจุโปรแกรมสำคัญ ที่ใช้ในการสตาร์ทอัพเครื่อง
                    -  เก็บโปรแกรมคำสั่งไว้อย่างถาวร
                    -  ไม่ต้องใช้กระแสไฟฟ้าเลี้ยง ข้อมูลก็จะยังคงอยู่
                    -  เขียนหรือบันทึกข้อมูลคำสั่งได้เพียงครั้งเดียว ในขั้นตอนการผลิตเครื่องจากโรงงาน ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้อีก
                    -  อ่านข้อมูลได้อย่างเดียว และการเข้าถึงข้อมูลเป็นแบบสุ่ม

          2. แรม (RAM : Random Access Memory)                                
                                                 
                    -  ทำหน้าที่เก็บข้อมูลที่รับเข้ามาจากหน่วยรับข้อมูล  เพื่อนำไปประมวลผล
                    -  ทำหน้าที่เก็บผลลัพธ์ที่ได้ขณะทำการประมวลผลซึ่งยังไม่ใช่ผลลัพธ์สุดท้าย
                    -  ทำหน้าที่เก็บผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลซึ่งเป็นผลลัพธ์สุดท้าย
                    -  ทำหน้าที่เก็บชุดคำสั่งต่างๆ ขณะที่เรากำลังทำงานอยู่กับเครื่อง
                        เพื่อใช้ในการประมวลผล
                    -  เป็นหน่วยความจำที่เก็บข้อมูลหรือโปรแกรมไว้ชั่วคราว สร้างขึ้นเพื่อผู้ใช้โดยตรง
                    -  สามารถอ่านหรือเขียนทับข้อมูลลงไปได้ตามต้องการ ถ้าไฟดับข้อมูลจะสูญหาย
                    -  การเข้าถึงข้อมูลเป็นแบบสุ่ม



          หน่วยความจำสำรอง  เป็นหน่วยความจำที่ใช้เก็บข้อมูล และโปรแกรมที่ต้องการใช้งานในคราวต่อไปได้   ซึ่งสามารถบรรจุข้อมูลและโปรแกรมได้เป็นจำนวนมาก
อุปกรณ์ที่เป็นหน่วยความจำสำรอง ได้แก่
  • จานแม่เหล็ก (Magnetic Disk)
    ฮาร์ดิสก์

    จานแม่เหล็กสามารถเข้าถึงข้อมูลได้โดยตรง (Direct Access)  ได้แก่  ฮาร์ดดิสก์ และฟล็อปปี้ดิสก์
  • เทปแม่เหล็ก (Magnetic Tape)  สามารถบันทึกและเข้าถึงข้อมูลแบบเรียงลำดับ (Sequential Access) การบันทึกทำโดยสร้างสนามแม่เหล็กลงบนเนื้อเทป
  • จานแสง (Optical Disk)
    เครื่องอ่านแผ่นซีดี (CD-ROM Drive)

    เป็นสื่อที่ใช้บันทึกข้อมูลได้ปริมาณมากสามารถอ่านและบันทึกข้อมูลด้วยแสงเลเซอร์ เช่น CD-ROM  (Compact Disc Read-Only Memory) มีความจุข้อมูลสูงมาก ตั้งแต่ 650 เมกะไบท์ (MB) สามารถอ่านข้อมูลได้อย่างเดียว แก้ไขเปลี่ยนแปลงไม่ได้

หน่วยแสดงผล คือ
          อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แสดงผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผล
การแสดงผลลัพธ์ แบ่งเป็น 2 แบบ
  • แสดงผลทางบนจอภาพ  
           
    การแสดงผลทางจอภาพ เรียกได้อีกอย่างว่าเป็น Soft Copy คือ จะแสดงผลลัพธ์ขณะที่มีกระแสไฟฟ้าอยู่ อุปกรณ์คือ จอภาพคอมพิวเตอร์ทั่วไป ซึ่งภาพบนจอประกอบด้วยจุดหรือ pixel หลายๆ pixel สามารถแสดงผลความละเอียดได้หลายระดับ เช่น 640 * 480 จุด , 800 * 600 จุด , 1024 * 786 จุด
  • แสดงผลทางเครื่องพิมพ์
     

            การแสดงผลทางจอภาพ  หรือเรียกได้อีกอย่างว่าเป็น Hard Copy คือ สามารถแสดงผลลัพธ์คงทนอยู่นาน ไม่ต้องใช้กระแสไฟฟ้าเลี้ยง อุปกรณ์ที่ใช้ คือ Printer  

    อ้างอิงเนื้อหา  http://www.streesmutprakan.ac.th/teacher/techno/WEB%20_JAN/p4.html 

คอมพิวเตอร์ คือ อะไร






     คอมพิวเตอร์มาจากภาษาละตินว่า Computare ซึ่งหมายถึง การนับ หรือ การคำนวณ
พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ให้ความหมายของคอมพิวเตอร์ไว้ว่า
"เครื่องอิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติ ทำหน้าที่เหมือนสมองกล ใช้สำหรับแก้ปัญหาต่างๆ
ที่ง่ายและซับซ้อนโดยวิธีทางคณิตศาสตร์
"



     คอมพิวเตอร์จึงเป็นเครื่องจักรอิเล็กทรอนิกส์ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้ทำงานแทนมนุษย์ ในด้านการคิดคำนวณและสามารถจำข้อมูล ทั้งตัวเลขและตัวอักษรได้เพื่อการเรียกใช้งานในครั้งต่อไป  นอกจากนี้ ยังสามารถจัดการกับสัญลักษณ์ได้ด้วยความเร็วสูง โดยปฏิบัติตามขั้นตอนของโปรแกรม คอมพิวเตอร์ยังมีความสามารถในด้านต่างๆ อีกมาก อาทิเช่น การเปรียบเทียบทางตรรกศาสตร์ การรับส่งข้อมูล การจัดเก็บข้อมูลในตัวเครื่องและสามารถประมวลผลจากข้อมูลต่างๆ ได้




     คอมพิวเตอร์ไม่ว่าจะเป็นประเภทใดก็ตาม จะมีลักษณะการทำงานของส่วนต่างๆ
ที่มีความสัมพันธ์กันเป็นกระบวนการ  โดยมีองค์ประกอบพื้นฐานหลักคือ
Input  Process และ output   ซึ่งมีขั้นตอนการทำงานดังภาพ

 

     เริ่มต้นด้วยการนำข้อมูลเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์  ซึ่งสามารถผ่านทางอุปกรณ์
ชนิดต่างๆ แล้วแต่ชนิดของข้อมูลที่จะป้อนเข้าไป เช่น   ถ้าเป็นการพิมพ์ข้อมูล
จะใช้แผงแป้นพิมพ์ (Keyboard) เพื่อพิมพ์ข้อความหรือโปรแกรมเข้าเครื่อง  
ถ้าเป็นการเขียนภาพจะใช้เครื่องอ่านพิกัดภาพกราฟิค (Graphics Tablet)
โดยมีปากกาชนิดพิเศษสำหรับเขียนภาพ   หรือถ้าเป็นการเล่นเกมก็จะมีก้านควบคุม
(Joystick) สำหรับเคลื่อนตำแหน่งของการเล่นบนจอภาพ เป็นต้น

     เมื่อนำข้อมูลเข้ามาแล้ว เครื่องจะดำเนินการกับข้อมูลตามคำสั่งที่ได้รับมา
เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ ต้องการ การประมวลผลอาจจะมีได้หลายอย่าง เช่น
นำข้อมูลมาหาผลรวม นำข้อมูลมาจัดกลุ่ม  นำข้อมูลมาหาค่ามากที่สุด
หรือน้อยที่สุด เป็นต้น

     เป็นการนำผลลัพธ์จากการประมวลผลมาแสดงให้ทราบทางอุปกรณ์ที่กำหนดไว้  
โดยทั่วไปจะแสดงผ่านทางจอภาพ หรือเรียกกันโดยทั่วไปว่า "จอมอนิเตอร์"
(Monitor) หรือจะพิมพ์ข้อมูลออกทางกระดาษโดยใช้เครื่องพิมพ์ก็ได้



จากการที่คอมพิวเตอร์มีลักษณะเด่นหลายประการ ทำให้ถูกนำมาใช้ประโยชน์ต่อการดำเนิน
ชีวิตประจำวันในสังคมเป็นอย่างมาก  ที่พบเห็นได้บ่อยที่สุดก็คือ การใช้ในการพิมพ์เอกสาร
ต่างๆ เช่น พิมพ์จดหมาย รายงาน เอกสารต่างๆ ซึ่งเรียกว่างานประมวลผล ( word processing ) 
นอกจากนี้ยังมีการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ในด้านต่างๆ อีกหลายด้าน ดังต่อไปนี้
  1. งานธุรกิจ เช่น บริษัท ร้านค้า ห้างสรรพสินค้า ตลอดจนโรงงานต่างๆ
    ใช้คอมพิวเตอร์ในการทำบัญชี งานประมวลคำ และติดต่อกับหน่วยงานภายนอก
    ผ่านระบบโทรคมนาคม นอกจากนี้งานอุตสาหกรรม ส่วนใหญ่ก็ใช้คอมพิวเตอร์มา
    ช่วยในการควบคุมการผลิต และการประกอบชิ้นส่วนของอุปกรณ์ต่างๆ เช่น
    โรงงานประกอบรถยนต์ ซึ่งทำให้การผลิตมีคุณภาพดีขึ้นบริษัทยังสามารถรับ
    หรืองานธนาคาร ที่ให้บริการถอนเงินผ่านตู้ฝากถอนเงินอัตโนมัติ ( ATM )
    และใช้คอมพิวเตอร์คิดดอกเบี้ยให้กับผู้ฝากเงิน และการโอนเงินระหว่างบัญชี
    เชื่อมโยงกันเป็นระบบเครือข่าย
  2. งานวิทยาศาสตร์ การแพทย์ และงานสาธารณสุข สามารถนำคอมพิวเตอร์มาใช้
    ในนำมาใช้ในส่วนของการคำนวณที่ค่อนข้างซับซ้อน เช่น งานศึกษาโมเลกุลสารเคมี
    วิถีการโคจรของการส่งจรวดไปสู่อวกาศ  หรืองานทะเบียน การเงิน สถิติ และเป็น
    อุปกรณ์สำหรับการตรวจรักษาโรคได้ ซึ่งจะให้ผลที่แม่นยำกว่าการตรวจด้วยวิธีเคมี
    แบบเดิม และให้การรักษาได้รวดเร็วขึ้น
  3. งานคมนาคมและสื่อสาร ในส่วนที่เกี่ยวกับการเดินทาง จะใช้คอมพิวเตอร์ในการจอง
    วันเวลา ที่นั่ง ซึ่งมีการเชื่อมโยงไปยังทุกสถานีหรือทุกสายการบินได้ ทำให้สะดวกต่อ
    ผู้เดินทางที่ไม่ต้องเสียเวลารอ อีกทั้งยังใช้ในการควบคุมระบบการจราจร เช่น ไฟสัญญาณ
    จราจร และ การจราจรทางอากาศ หรือในการสื่อสารก็ใช้ควบคุมวงโคจรของดาวเทียม
    เพื่อให้อยู่ในวงโคจร ซึ่งจะช่วยส่งผลต่อการส่งสัญญาณให้ระบบการสื่อสารมีความชัดเจน
  4. งานวิศวกรรมและสถาปัตยกรรม สถาปนิกและวิศวกรสามารถใช้คอมพิวเตอร์ในการออกแบบ
    หรือ จำลองสภาวการณ์ ต่างๆ เช่น การรับแรงสั่นสะเทือนของอาคารเมื่อเกิดแผ่นดินไหว
    โดยคอมพิวเตอร์จะคำนวณและแสดงภาพสถานการณ์ใกล้เคียงความจริง รวมทั้งการใช้
    ควบคุมและติดตามความก้าวหน้าของโครงการต่างๆ เช่น คนงาน เครื่องมือ ผลการทำงาน
  5. งานราชการ เป็นหน่วยงานที่มีการใช้คอมพิวเตอร์มากที่สุด โดยมีการใช้หลายรูปแบบ
    ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับบทบาทและหน้าที่ของหน่วยงานนั้นๆ เช่น กระทรวงศึกษาธิการ มีการใช้
    ระบบประชุมทางไกลผ่านคอมพิวเตอร์ , กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้จัดระบบ
    เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อเชื่อมโยงไปยังสถาบันต่างๆ , กรมสรรพากร ใช้จัดในการจัดเก็บ
    ภาษี บันทึกการเสียภาษี เป็นต้น
  6. การศึกษา ได้แก่ การใช้คอมพิวเตอร์ทางด้านการเรียนการสอน ซึ่งมีการนำคอมพิวเตอร์มา
    ช่วยการสอนในลักษณะบทเรียน CAI หรืองานด้านทะเบียน ซึ่งทำให้สะดวกต่อการค้นหา
    ข้อมูลนักเรียน การเก็บข้อมูลยืมและการส่งคืนหนังสือห้องสมุด

    เครื่องคอมพิวเตอร์ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้มีจุดเด่น 4 ประการ เพื่อทดแทนข้อจำกัดของมนุษย์ เรียกว่า 4 S special ดังนี้
1. หน่วยเก็บ (Storage)
    หมายถึง ความสามารถในการเก็บข้อมูลจำนวนมากและเป็นเวลานาน นับเป็น
จุดเด่นทางโครงสร้างและเป็นหัวใจของการทำงานแบบอัตโนมัติของเครื่องคอมพิวเตอร์ ทั้งเป็นตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพของคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องด้วย


2. ความเร็ว (Speed)
    หมายถึง ความสามารถในการประมวลผลข้อมูล (Processing Speed)
โดยใช้เวลาน้อย เป็นจุดเด่นทางโครงสร้างที่ผู้ใช้ทั่วไปมีส่วนเกี่ยวข้องน้อยที่สุด
เป็นตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สำคัญส่วนหนึ่งเช่นกัน


3. ความเป็นอัตโนมัติ (Self Acting)
    หมายถึง ความสามารถในการประมวลผลข้อมูลตามลำดับขั้นตอนได้อย่างถูกต้องและต่อเนื่องอย่างอัตโนมัติ โดยมนุษย์มีส่วนเกี่ยวข้องเฉพาะในขั้นตอนการกำหนดโปรแกรมคำสั่งและข้อมูลก่อนการประมวลผลเท่านั้น

4. ความน่าเชื่อถือ (Sure)
    หมายถึง ความสามารถในการประมวลผลให้เกิดผลลัพธ์ที่ถูกต้อง ความน่าเชื่อถือนับเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ ความสามารถนี้เกี่ยวข้องกับโปรแกรมคำสั่งและข้อมูลที่มนุษย์กำหนดให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์โดยตรง กล่าวคือ หากมนุษย์ป้อนข้อมูลที่ไม่ถูกต้องให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ก็ย่อมได้ผลลัพธ์ที่ไม่ถูกต้องด้วยเช่นกัน

อ้างอิงเนื้อหา http://www.thaiwbi.com/course/Intro_com/Intro_com/wbi1/hie/menu1.htm


วันพุธที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

การสมัคร E-mail ของ Gmail

ขั้นที่ 1.สมัคร Gmail กันก่อนโดยเข้าไปที่ Google.com เลือกแทบมุมบนซ้ายที่ Gmail

ขั้นที่ 2 เมื่อเข้ามาสู่หน้าจอนี้ให้คลิกที่ปุ่ม สมัคร





ขั้นที่ 3 บันทึกข้อมูลส่วนตัวของคุณ คือ ชื่อ นามสกุล และชื่อที่จะใช้เป็นอีเมล์ เช่น kruprawat@gmail.com เป็นต้น จากนั้นค่อยกดปุ่มเช็คดูว่า อีเมล์ นี้มีคนใช้หรือยัง หากมีคนใช้แล้วก็พิมพ์ชื่อใหม่ลงไปครับ
หมายเหตุ: จดไว้ด้วยนะครับว่า อีเมล์ ของตนเองคืออะไร?





ขั้นที่ 4 ใส่รหัสผ่านในการเข้าใช้ อีเมล์ 2 ครั้ง และ ต้องเป็นข้อมูลเหมือนกัน
หมายเหตุ: ให้จดด้วยนะครับว่ารหัสผ่าน อีเมล์ ของตนเองคืออะไร เพราะมันต้องใช้ครับ?





ขั้นที่ 5 เลือกคำถาม และพิมพ์คำตอบ อันนี้จะใช้เมื่อเราลืมรหัสผ่านครับ






ขั้นที่ 6 ช่องอักษร anti robot พิมพ์อักขระตามที่ระบบสุ่มขึ้นมาให้ครับ





ขั้นที่ 7 กดปุ่มยอมรับการใช้งาน เราก็จะมี อีเมล์ เป็นของตัวเองครับ


ขั้นที่ 8 การใช้งาน เปิดหน้า Google

มุมบนซ้าย จะมีเมนู ของ Google ให้หา Gmail แล้ว กดล๊อคอิน ด้วย อีเมล์
ที่เราลงทะเบียนไว้ได้เลยครับ

อ้างอิงเนื้อหา  www.kaepe.net


มาดูคลิปการสมัคร E-mail ของ Gmail




อ้างอิงเนื้อหา http://www.youtube.com/watch?v=FEj7jeoDgbQ

การสมัคร E-mail ของ hotmail

การสมัครอีเมลล์ วิธีสมัคร E-Mail การสมัครเมลล์ hotmail.com

      วิธีสมัครเมลล์ สมัครเมลล์ก่อนอื่นให้เข้าไปที่ www.hotmail.com ก่อน 
จะเห็นปุ่มด้านขวามือเขียนว่า ลงทะเบียน ให้กดที่ปุ่นนั้นแล้วจะได้เป็นหน้าด้านล่าง
บทความนี้จาก www.modify.in.th
วิธีสมัคร E-mail

ให้กรอกรายละเอียดลงไปตามหัวข้อต่างๆ แล้วสุดท้ายให้พิมพ์ code ที่มองเห็นจากนั้นให้กด 
ฉันยอมรับเพื่อทำขั้นตอนต่อไปอธิบายคราวๆตามหัวข้อด้านบน

windows live id: คือชื่อของเมลล์เรานั้นเอง เป็นภาษาอังกฤษ พยามเลือกไม่ให้ซ้ำกับคนอื่น 
การตั้งชื่อง่ายๆอาจมีคนอื่นจดไปแล้ว ในตอนนี้ ทาง hotmail มีให้เลือก @ สองแบบ คือ hotmail 
กับ wondowslive.com ใส่ชื่อเลือก @ แล้วถ้าไม่ซ้ำด้านล่างจะเป็นตัวเขียวๆ แสดงว่าใช้ชื่อนี้ได้ 
แต่หากขึ้นสีแดงๆแสดงว่ามีคนอื่นจองชื่อนี้ไปแล้ว หรือทาง hotmail ห้ามไม่ให้จดชื่อนี้

สร้างรหัสผ่าน : ใส่ระหัสผ่าน อะไรก็ได้ 6 ตัวขึ้นไป
พิมพ์รหัสผ่านอีกครั้ง : พิมพ์เหมือนด้านบนอีกครั้ง
ชื่อจริง: ใส่ชื่อ (ไม่จำเป็น้องเป็นชื่อจริงก็ได้)
นามสกุล : สกุล
ประเทศ : ใส่ประเทศ
จังหวัด : เลือกจังหวัด
รหัสไปรษณีย์ : ใส่ไป 6 ตัวของจังหวัดนั้นๆที่เราอยู่
เลือกเพศ
เลือกปีเกิด
พิมพ์ที่เรามองเห็นจากด้านบนเป็นการป้องกันสปาม

เมื่อกดไปแล้วจะเข้าสู้หน้าเมลล์ของ hotmail เรียบร้อย

การสมัครอีเมลล์ วิธีสมัคร E-Mail การสมัครเมลล์ hotmail.com คอมพิวเตอร์ กับ อินเตอร์เน็ต Computer With Internet

อ้างอิงเนื้อหา http://www.modify.in.th/Computer-With-Internet/E-Mail-hotmailcom-id93.aspx


มาดูคลิปการสมัครอีเมล์ Hotmail กันดีกว่า
อ้างอิงเนื้อหา http://www.youtube.com/watch?v=9DwGSLoTfVk

การใช้งานอินเตอร์เน็ต (Internet) เบื้องต้น


การใช้งานอินเตอร์เน็ต (Internet) เบื้องต้น

ความรู้พื้นฐานของการใช้งาน อินเตอร์เน็ต (Internet)นั้น ประกอบด้วยการใช้งานด้านการค้นหาข้อมูลและสื่อสารข้อมูล เป็นหลัก ในที่นี้ จะกล่าวถึงการใช้งาน Browser ในการค้นหาข้อมูลและสื่อสารข้อมูล โดยการค้นหาข้อมูล จะกล่าวถึงการใช้งาน Search Engine และการสื่อสารข้อมูลจะเป็นลักษณะของการสื่อสารข้อมูลด้วย E-Mail

Browser คืออะไร
            Browser คือ โปรแกรมระบบงานที่ใช้เพื่อค้นหาทรัพยากรต่าง ๆ ใน Internet โดย Browser นั้น จะให้ผู้ใช้เดินทางจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งโดยไม่สนใจรายละเอียดทางเทคนิคของการเชื่อมต่อระหว่างจุด หรือวิธีการเฉพาะที่จะเข้าไปใช้จุดเหล่านั้น และนำเสนอข้อมูลที่เป็นข้อความ ( Text ) , ภาพ ( Graphics ) , เสียง ( Sound ) หรือภาพเคลื่อนไหว ( Animation ) ในเอกสารบนจอภาพ

การใช้งาน Internet Explorer
            Internet Explorer (IE)เป็น Browser ซึ่งผลิตโดยบริษัท Microsoft ซึ่งมีมาให้พร้อมกับ Microsoft Windows ตั้งแต่ Windows 98 ขึ้นไป โดยที่หากเป็น Windows98 ก็จะเป็น IE4.0 , Windows98 SE ก็จะเป็น IE5.0 , Windows Me ก็จะเป็น IE5.5 , สุดท้ายถ้าเป็น Windows XP ก็จะเป็น IE6.0 ดังนั้น หากคิดจะใช้อินเตอร์เน็ตด้วย IE แล้ว จำเป็นต้องทราบเทคนิค พื้นฐานเบื้องต้นในการใช้ IE ด้วย

รู้จักกับเมนู ปุ่ม และคำสั่งในเบื้องต้น
1.ปุ่มคำสั่งในเบื้องต้น


 

                            ปุ่ม Back ใช้สำหรับย้อนกลับไปหน้าที่ผ่านมาแล้ว



 

                            ปุ่ม Forward ใช้สำหรับเปลี่ยนไปหน้าต่อไป (หลังจากที่ย้อนกลับมา)



 

                            ปุ่ม Stop ใช้สำหรับหยุดการโหลดข้อมูลในหน้า Web Page นั้น



 

                            ปุ่ม Refresh ใช้สำหรับการเรียกโหลดข้อมูลหน้า Web Page ใหม่อีกครั้ง



 

                            ปุ่ม Home ใช้สำหรับกลับไปหน้าแรกหรือกลับไปที่ URL ที่ตั้งไว้ให้เป็นหน้าแรก
 

                            ปุ่ม Search ใช้สำหรับค้นหาเว็บไซต์



 

                            ปุ่ม Favorites ใช้สำหรับเลือกเว็บไซต์จาก Favorites หรือ Book Mark



 

                            ปุ่ม History ใช้สำหรับการย้อนกลับไปดูเว็บไซต์ที่เคยเข้าไปดูมาแล้ว



 

                            ปุ่ม Mail ใช้สำหรับการ รับ-ส่ง อีเมล์



 

                            ปุ่ม Print ใช้สำหรับการพิมพ์หน้าเว็บออกเครื่องพิมพ์

                            ปุ่ม Edit ใช้สำหรับการแก้ไขหน้า Web Page นั้น ๆ

2.การกำหนด Text Size และ Encode ของตัวอักษร
            เป็นการกำหนดขนาดของตัวอักษรและการเข้ารหัสภาษา ที่แสดงในแต่ละหน้าของ Web Page ซึ่งเราสามารถทำการปรับแต่งขนาด และการกำหนดภาษานี้ได้ ซึ่งในบางครั้ง หากผู้ใช้เข้าไปบาง Web Site แล้วไม่สามารถอ่านภาษาไทยได้ ให้ทำการเปลี่ยน Encoding ช่องนี้ให้เป็น Thai ก็จะแสดงตัวอักษรไทยออกมา
สามารถทำได้ คือ
dia_red.gif คลิกเมนู View à เลือก Text Size หรือ Encoding à เลือกขนาดตัวอักษร หรือ รหัสภาษา

3.การเก็บ Link หรือ URL ของ Web Site ที่ใช้งานบ่อยครั้งไว้ใน Favorites
            ขณะที่ใช้งาน Internet ไปแล้วพบว่า มี Web Site ที่ใช้งานบ่อยครั้ง แล้วต้องการเก็บ Link หรือ URL ของหน้า Web Page นั้นไว้ ก็สามารถทำได้ มีวิธีทำดังนี้ คือ
dia_red.gif คลิกเลือกเมนู Favorites à คลิก Add to Favorite à เปลี่ยนชื่อ page เลือก àโฟลเดอร์ ที่ต้องการเก็บหรือสร้างโฟลเดอร์ใหม่ à คลิก OK

4.การใช้งาน Internet Explorer แบบ Offline
                การใช้งานแบบ Offline ก็คือการที่เราทำการเก็บข้อมูลของหน้า Web Page ที่ได้เคยเข้าไปเยี่ยมชมแล้ว และทำการเรียกมาดูใหม่อีกครั้ง โดยที่ไม่ต้องทำการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต มีวิธีทำคือ
dia_red.gif คลิกเมนู File à เลือก Save As… à เลือก Drive และ โฟลเดอร์ที่ต้องการเก็บ à คลิก OK



5.การตั้งค่าหน้า Web page เริ่มต้น เมื่อเปิดโปรแกรม Internet Explorer
                เมื่อเราต้องการให้หน้า Web page ที่เราเปิด Internet Explorer ครั้งแรก เป็นเว็บใดหรือแบบใด เพื่อความสะดวกในการใช้งาน สามารถทำได้ ดังนี้
dia_red.gif คลิกเมนู Tools à คลิก Internet option… à เลือกแท็บ General



 

                           คือการตั้งหน้า Web Page ปัจจุบัน ให้เป็นหน้าแรก

                           คือการตั้งเป็นค่าเดิมของ Microsoft.com



 
                   คือการตั้งหน้าแรกเป็นหน้าว่างเปล่า

6.การพิมพ์หน้า Web page ที่ต้องการ
                การ Preview ดู ก่อนสั่งพิมพ์หน้า Web Page  มีวิธีทำดังนี้
dia_red.gif คลิกเมนู File à คลิก Print Preview…
                การตั้งค่าหน้ากระดาษ ก่อนพิมพ์ มีวิธีทำ ดังนี้
dia_red.gif คลิกเมนู File à คลิก Page Setup…
                การสั่งพิมพ์หน้า Web page  มีวิธีทำ ดังนี้
dia_red.gif คลิกเมนู File à คลิก Print…

7.การเคลียร์ Username และ Password หลังจากได้ถูกบันทึกไว้ในเครื่อง
                หลังจากที่เราได้เข้าใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นระบบใดก็ตามผ่าน Web ที่ต้องให้มีการเข้าใช้งานโดยการกรอก Username และ Password ต่าง ๆ และได้บันทึก Username และ Password เหล่านั้นไว้ ซึ่งจะเป็นอันตรายอย่างมาก ในกรณีที่ใช้เครื่องร่วมกับผู้อื่น วิธีการลบ โดยไม่ให้เครื่องจดจำ Username และ Password ของเราสามารถทำได้ ดังนี้
1.คลิกเมนู Tools à คลิก Internet option… à เลือกแท็บ Content
2.คลิกปุ่ม AutoComplete à คลิกปุ่ม Clear Forms à คลิก OK
3.คลิกปุ่ม Clear Passwords à คลิก OK

เทคนิคการใช้งาน Internet Explorer
dia_red.gif   การกดปุ่ม เมาส์ขวาเพื่อเรียกเมนูใช้งานอย่างรวดเร็ว เช่นการเก็บรูปภาพ การเปิดหน้าต่างใหม่ หรืออื่น ๆ
dia_red.gif   การกดปุ่ม ALT + ปุ่มลูกศร ซ้าย หรือ ขวา จะเป็นการเรียกใช้เมนู Back หรือ Forward ได้เช่นกัน
dia_red.gif   การกดปุ่ม Ctrl + N เป็นการเปิดหน้าต่างใหม่เพิ่มขึ้นมา
dia_red.gif   การค้นหาข้อความในหน้า Web Page สามารถใช้เมนู Edit และ Find (on This Page) หรือกด Ctrl + F ได้
dia_red.gif   หากพบภาพที่ถูกใจ สามารถตั้งให้เป็น Wall Paper ได้ทันทีโดยกดปุ่มเมาส์ขวา เลือกที่ Set as wallpaper
dia_red.gif   การกดปุ่ม Ctrl + N เป็นการเปิดหน้าต่างใหม่เพิ่มขึ้นมา
การสืบค้นข้อมูลโดยการใช้ Search Engine
Search Engine คือ โปรแกรมซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวค้นหาข้อมูลในระบบอินเตอร์เน็ต  ซึ่ง Search Engine ที่นิยมใช้นั้นมีด้วยกันหลายตัวด้วยกัน เช่น Google (www.google.co.th),Dogpile (www.dogpile.com)
ALLTHEWEB ( www.alltheweb.com ) Yahoo (www.yohoo.com) เป็นต้น แต่ในที่นี้จะอธิบายวิธีการใช้งาน Google ซึ่งเป็น Search Engine ที่มีความนิยมที่สุดในขณะนี้
หลักพื้นฐานในการค้นหาข้อมูลด้วย Google
การค้นหาข้อมูลด้วย Google นั้นทำได้ไม่ยาก เพียงแค่พิมพ์หัวข้อค้นหา (ซึ่งเป็นคำหรือวลีที่อธิบายข้อมูลที่คุณต้องการค้นหาได้ดีที่สุด) ในกล่องข้อความ จากนั้นกดปุ่ม ‘Enter’ หรือคลิกที่ปุ่ม ‘Google Search’
หรือ ค้นหาโดย Google” จากนั้น Google ก็จะคืนผลลัพธ์ เป็นรายการของหน้าเว็บที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับหัวข้อค้นหาของคุณ โดยหน้าเว็บที่มีข้อมูลเกี่ยวข้องที่ชัดเจนที่สุดจะปรากฏออกมาเป็นลำดับแรก
(วิธีทำ ในเอกสาร วิธีการใช้งาน Google ค้นหาข้อมูล)

การรับ ส่ง ข้อมูลผ่านจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ หรือ E – Mail ( Electronics Mail )
เป็นการรับส่งจดหมายด้วยระบบคอมพิวเตอร์เครือข่าย มีลักษณะคล้ายกับการรับส่งจดหมายแบบปกติ แต่มีความสะดวกและรวดเร็วกว่ามาก สามารถเขียนจดหมายถึงผู้รับได้ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดในเครือข่ายอินเตอร์เน็ต